Domo - Help Select

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของการถ่ายภาพ

การจัดองค์ประกอบ
สิ่งที่ควรพิจารณาในการจัดองค์ประกอบ
ในการถ่ายภาพให้ได้ดีนี้มิได้ขึ้นอยู่กับการมีกล้องที่ดี เลือกใช้ฟิล์มได้ถูกต้องและรู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น หากยังขึ้นอยู่กับเทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายที่ดีด้วย การจัดองค์ประกอบหมายถึง การจัดวางสิ่งต่าง ๆ ภายในภาพให้ดูเหมาะสม น่าดูสวยงาม และมีหลักการทางศิลปะ การถ่ายภาพส่วนมากจะพบกับสถานะการณ์จัดองค์ประกอบ 2 ประการ คือ}


1. จัดองค์ประกอบ หรือจัดวางวัตถุให้อยู่ในตำแหน่งตามจุดมุ่งหมายสอดคล้องและสัมพันธ์กันในภาพ ซึ่งลักษณะนี้สามารถควบคุมได้ เช่น ถ่ายภาพคนภาพสิ่งของ ที่ผู้ถ่ายสามารถควบคุมการจัดวางตำแหน่งได้


2. จัดองค์ประกอบหรือจัดวางวัตถุที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ตึกรามบ้านช่อง และเหตุการณ์เคลื่อนไหวต่าง ๆ แต่เราสามารถแก้ไขวัตถุที่ถูกถ่ายอยู่ในตำแหน่งที่ต้อการได้

การจัดองค์ประกอบช่วยทำให้ผู้ดูรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในภาพ มีข้อคำนึง ดังนี้

1. ควรจะรวมอะไรไว้ในภาพ จึงจะเกิดความสวยงามสามารถแสดงเรื่องราวได้
2. ควรจะกดชัตเตอร์ เพื่อบันทึกภาพเมื่อใดจึงจะได้ภาพที่สื่อสารได้ตามต้องการ

การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

เพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวยงามสื่อสารได้ตามจุดประสงค์ ผู้ถ่ายต้องเลือกจัดภาพโดยยึดหลักพื้นฐานดังนี้ คือ

1. จุดและเส้น (Point & line) จุดเป็นพื้นฐานในทางศิลปทุกสาขาและเส้นก็เกิดจากการต่อกันของจุด เส้นใช้นำสายตาและแสดงการเคลื่อนไหวได้ไม่ว่าเส้นจะอยู่ลักษณะใด สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Dynamic) หรืออยู่กับที่ได้ที่นิยมใช้มี ดังนี้

1.1 เส้นตัวเอส S บางครั้งธรรมชาติอาจช่วยสร้างศิลปขึ้นได้ เช่น ถนนหนทาง รูปตัว S เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพอาจจะเลือกใช้ เพื่อให้ภาพถ่ายสวยงามอีกแบบหนึ่ง

Road.jpg

ภาพถนน รูปตัว S

1.2 เส้นทะแยงมุม ในการถ่ายภาพสิ่งที่ตั้งเป็นแนวยาว ถ้าถ่ายภาพตามขวางธรรมดาจะทำให้ภาพดูแบน ๆ ไม่น่าสนใจ หากถ่ายภาพ โดยตั้งกล้องเฉียงจะได้ภาพมีลักษณะเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดเห็นความคมชัดลึกของภาพได้ดีสวยงาม
Road.jpg
ภาพเส้นทะแยงมุม

1.3 เส้นนำสายตา ในการถ่ายภาพอาจใช้แนวพุ่มไม้เป็นแนวนำสายตาผู้ชมเข้าไปสู่เนินสูง ๆ และหมู่ไม้เบื้องหน้าซึ่งเป็นจุดเด่นของภาพได้

road3.jpg
ภาพเส้นนำสายตา

1.4 เส้นรัศมี การถ่ายภาพวัตถุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายดาวกระจายหรือรัศมีเป็นสิ่งที่ต้องยึดนำมาใช้ถ่ายภาพ โดยไม่ต้องอาศัยการแต่งเติมใด ๆ ภาพจะออกมาสวยงามได้
redsr09.jpg
ภาพเส้นรัศมี

1.5 เส้นแนวนอน สร้างความรู้สึกที่สงบนิ่ง และมั่นคงให้กับภาพถ่าย การวางเส้นแนวนอน ควรให้อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับกลางภาพ เช่น เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ต้องการแสดงพื้นที่ส่วนล่างให้เห็นได้จากระยะใกล้ถึงลึกไกล ควรให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างบนประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ของพื้นที่ของภาพ ถ้าต้องการให้ภาพดูลึกไกล แสดงเรื่องราวของท้องฟ้า มากกว่าส่วนล่างให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างล่างประมาณ 1/4 หรือ 1/3 ของพื้นที่ของภาพ ถ้ามีคนรวมอยู่ด้วย หลีกเลียงไม่ให้มีเส้นแนวนอนอยู่ระดับคอหรือศรีษะของคนในภาพ

1.6 เส้นตรง หรือเส้นตั้ง แสดงถึงความแข็งแรง มั่นคง สง่างาม

1.7 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนโยน ร่าเริง เบิกบานและมีความงดงามประกอบกัน


2. รูปร่าง (Shape) องค์ประกอบส่วนมากในภาพมีลักษณะที่เป็นรูปร่างอยู่มากสามารถบอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเช่นไร ด้วยเค้าโครงภายนอกและลักษณะรูปร่างสามารถแยกแยะวัตถุได้เด่นชัดนำมาใช้ประกอบช่วยให้ภาพมีจุดสนใจสดุดตาแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ถึงแม้รูปร่างจะไม่แสดงมิติความลึก หนาก็ตามแต่สามารถเข้าใจในภาพได้ เช่น การถ่ายภาพคนเงาดำย้อนแสง จะเห็นลักษณะรูปร่างของคนได้อย่างดี
under.jpg
ภาพคนเงาดำย้อนแสง


3. รูปทรง (Form) การถ่ายทอดลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ได้สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทิศทางของแสง และมุมกล้องเป็นสำคัญ รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด


3.1 รูปทรงที่มีลักษณะ แบบเรขาคณิต (Geometric Form) เช่น สี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้ดีและควรใช้การประสานกันของรูปทรง และสัดส่วนเหล่านี้ประกอบในการจัดภาพ เช่น จัดภาพรูปทรงสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมในการถ่ายภาพคนยืนอยู่ในกรอบหน้าต่าง หรือจัดภาพรูปทรงในการถ่ายภาพดอกกุหลาบที่มีกลิ่นดอกวกวนเป็นวงกลม เป็นต้น

rose.jpg
ภาพการจัดภาพรูปวงกลม


3.2 รูปทรงทางธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกทางโครงสร้างของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต การนำรูปทรงชนิดนี้มาจัดองค์ประกอบจะทำให้เห็นได้ง่าย เพราะมีอยู่ในชีวิตประจำวัน

3.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถจำแนกลักษณะได้แน่ชัดลงไป เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุดให้ความรู้สึกทางจินตนาการได้มากที่สุด เช่น รูปทรงของก้อนเมฆ กระแสน้ำ หรือก้อนหิน เป็นต้น


4. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวจะเพิ่มความรู้สึกที่เป็นจริงขึ้นมา (Realism) บอกให้ทราบว่าสิ่งนั้น ๆ มีผิวสัมผัสเช่นไร องค์ประกอบแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมันหรือหยาบและมีลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป เช่น ผิวของกระจกจะเรียบมัน ผิวของหินจะขรุขระ ผิวของคนชราจะเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น การเลือกใช้พื้นผิวต่างกันมาประกอบกันทำให้ภาพดูเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่นไข่ที่มีผิวเรียบวางเด่นอยู่บนผิวขรุขระ สร้างความรู้สึกที่ขัดแย้งให้เกิดขึ้นและสดุดตามากด้วย อย่างไรก็ตามพื้นผิวจะแสดงเด่นชัดเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพ และทิศทางของแสงเป็นสำคัญ

texture-014_small.jpg
ภาพที่มีลักษณะพื้นผิว


5. ลวดลาย (Pattern) ลวดลาย คือลักษณะรูปร่างรูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ำซ้อนเหมือนกันมาก ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกันหรือเรียงกันไปตามลำดับซึ่งจะพบเห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลวดลายอิฐบนกำแพงรั้วที่เรียงซ้อนกัน รถที่จอดเรียงรายกันหลาย ๆ คัน รถจักยานยนต์ที่เรียงกันเป็นแถว บางทีเรียกการจัดภาพถ่ายแบบนี้ว่าแบบซ้ำซ้อนนิยมใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหลักของภาพ ช่วยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ต่างกัน ข้อควรระวังคือ อย่าจัดภาพให้เกิดความสับสนควรสอดแทรกจุดเด่นของภาพเอาไว้ด้วย เช่น รูปทรงของเจดีย์มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเณรเป็ฯจุดเด่นของภาพ
patern.jpg
ตัวอย่างภาพลวดลาย


6. น้ำหนักสี (Tone) หรือ (Chiaroscuro) น้ำหนักความกลมกลืนของสีที่ปรากฎในภาพมีค่าแตกต่างกันเพราะมีสีอ่อนและสีเข้มต่างกัน น้ำหนักของภาพถ่ายขาว-ดำก็คือ ระดับความอ่อนแก่ของสีที่มืดที่สุดคือ สีดำและค่อย ๆ สว่างขึ้นจนสว่างที่สุด คือสีขาวและระหว่างสีดำกับสีขาวก็มีสีเทานั่นเอง ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบเกี่ยวกับน้ำหนักสีนั้นต้องให้มีความตัดกันและกลมกลืนกันในระดับต่าง ๆ ที่พอเหมาะภาพถ่ายที่ดีควรจัดให้วัตถุมีค่าน้ำหนักแตกต่างจากฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เด่นออกมาโดยทั่วไปการถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าของน้ำหนักนิยมถ่ายภาพ 2 ลักษณะคือ


6.1 ภาพสีสว่างขาว (High Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีสว่าง หรือสีขาวมาก ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา สนุกสนานร่าเริง บอบบาง อ่อนหวาน

girl.jpg
ภาพสีสว่างขาว


6.2 ภาพสีส่วนใหญ่มืดเข้ม (Low Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีมืดมากหรือสีดำมาก ให้ความรู้ที่โศกเศร้าเสียใจ ลึกลับน่ากลัวเคร่งขรึม บางภาพอาจมีค่าน้ำหนักสีส่วนที่สว่างขาวตัดกับสีมืดมาก ๆ ก็ได้ ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้นสดุดสายตา ส่วนภาพที่มีน้ำหนักสีที่กลมกลืนต่อเนื่องกัน จากสีที่เข้มในระยะฉากหน้าและจางลงไปถึงฉากหลัง หรือตรงกันข้าม คือฉากหน้าจางต่อไปถึงเข้มมากในฉากหลัง ภาพลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกที่ลึกไกลได้
man.jpg
ภาพที่มีสีส่วนใหญ่มืดเข้ม

7. ช่องว่าง (Space) ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวควรเว้นช่องว่างด้านหน้าสิ่งที่เคลื่อนไหวให้มากกว่าด้านหลัง เพื่อให้ผู้ดูรู้สึกอึดอัดและมีความรู้สึกว่าข้างหน้าเป็นทางปิดหรือตันที่วัตถุนั้นกำลังเคลื่อนไปชนเอาขอบของภาพ การจัดที่ว่างรอบ ๆ วัตถุช่วยเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะฉากหลังของภาพควรให้ว่างเปล่า ไม่สับสนวุ่นวายถ้าต้องการเน้นวัตถุ

space.jpg
ภาพที่เว้นช่องว่างได้เหมาะสม


8. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) ก่อนการถ่ายภาพ ควรแบ่งบริเวณช่องมองภาพออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันทั้งในแนวตั้งและแนวนอนจุดที่เส้นตัดกันคือบริเวณที่ควรวางสิ่งสำคัญของภาพไว้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้ภาพเด่นขึ้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุดดังเช่นจุดสำคัญของภาพคือ ใบหน้าของเด็กหญิงโดยเฉพาะคือดวงตา ซึ่งกำลังมองใบไม้ในมือซึ่งเป็นจุดสำคัญรองลงมา เพื่อให้สมบูรณ์จริง ๆ จึงให้ใบไม้และมือของเด็กหญิงอยู่ในบริเวณจุดตัดกันอีกจุดหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างดวงตาและใบไม้ กฎข้อนี้มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องการเน้นวัตถุที่มีความสำคัญมาก ก็อาจวางวัตถุนั้นไว้กลางภาพก็ได้ เช่น ภาพถ่ายใกล้ของดอกไม้ที่ต้องการ เน้นให้เห็นกลีบดอกอย่างชัดเจนที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของภาพ


ตัวอย่างภาพที่ใช้กฏสามส่วน

9. ความสมดุลย์ (Balance) ความสมดุลย์ ได้แก่การจัดให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ให้มีลักษณะที่มีน้ำหนักเท่ากันทั้งสองด้านไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งนั่นคือ ให้เกิดความสมดุลย์ทั้งในด้านวัตถุ น้ำหนักของสี แสงเป็นต้น ความสมดุลย์มี 2 ประเภท คือ


9.1 ความสมดุลย์แบบเสมอภาค (Formal or Symmetrical Balance) คือการจัดให้ส่วนประกอบในภาพเหมือนกันทั้ง 2 ด้านทั้งขนาด รูปร่าง และสี
ภาพที่มีความสมดุลย์แบบเสมอภาค

9.2 ความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค (Informal or Asymme-trical Balance) เป็นการจัดส่วนประกอบที่มีรูปทรงและสัดส่วนไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน น้ำหนักสีไม่เท่ากันหรือพื้นผิวไม่เหมือนกันเป็นต้น ลักษณะนี้อาจแก้ไขให้เกิดความรู้สึกสมดุลย์ขึ้นมาได้เช่นการวางวัตถุรูปทรงใหญ่ แต่มีสีอ่อน อยู่ข้างซ้ายส่วนรูปทรงเล็กแต่มีสีเข้มอยู่ด้านขวามือก็จะช่วยให้เกิดดุลย์กันได้ หรือวางตำแหน่ง ของวัตถุที่มีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้จุดกึ่งกลางภาพมากกว่าวัตถุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก หรือสีที่มีความสดใส เช่น สีแดง สีส้ม มีพื้นที่น้อยกว่าสีที่มีความสงบ เช่น สีฟ้า หรือสีขาว หรือพื้นผิวขรุขระ มีบริเวณน้อยกว่าพื้นผิวเรียบ เป็นต้น การจัดภาพลักษณะนี้ ต้องการให้แลดูดึงดูดความสนใจ และมีอิสระเสรีในการถ่ายภาพได้มาก
==ภาพที่มีความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค== 


10. มุมกล้อง (Camera Angle) ภาพที่เลือกใช้มุมกล้องต่างกันถึงแม้จะเป็นวัตถุสิ่งของอย่างเดียวกันแต่จะมีผลต่อความคิด การสื่อความหมาย และอารมณ์แตกต่างกันโดยทั่วไปมุมกล้องแบ่งเป็น 3 ระดับคือ

10.1 ภาพระดับสายตา (Eye-level Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นดิน ในระดับเดียวกันกับสายตา ให้ความรู้สึกเป็นปกติธรรมดา
ภาพระดับสายตา
10.2 ภาพมุมต่ำ (Low Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงความสูงใหญ่ สง่าผ่าเผย มีอำนาจ ทรงพลัง เป็นต้น

10.3 ภาพมุมสูง (High Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงขนาดเล็กความต่ำต้อยไม่สำคัญ หมดอำนาจวาสนาเป็นต้น

การเปลี่ยนมุมภาพแต่ละครั้ง ควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสียก่อนกดชัตเตอร์ เช่น ถ้าถ่ายภาพผู้หญิงด้วยมุมต่ำ และระยะใกล้เกินไป จะทำให้รูปทรงของใบหน้าผิดสัดส่วนไม่สวยงาม จะเห็นคอสั้น คางใหญ่ จมูกบานกว้าง ใบหน้าแคบแหลม เป็นต้น เมื่อเลือกมุมภาพได้แล้วต้องคำนึงถึงลักษณะทิศทางของแสงด้วย


11. กรอบของภาพ (Framing) บางครั้งการถ่ายภาพ โดยการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำให้เกิดเป็นกรอบภาพขึ้นมา จะช่วยให้ภาพนั้นน่าดูยิ่งขึ้น เช่นการนำกิ่งไม้มาเป็นกรอบหน้าประกอบภาพพระพุทธรูปและเจดีย์ในเมืองโบราณที่สุโขทัยหรือการถ่ายภาพสามเณรกำลังกวาดลานวัดโดยถ่ายจากข้างในโบสถ์ให้ประตูโบสถ์เป็นกรอบ จะช่วยให้ภาพมีคุณค่ามีมิติ และความลึกน่าสนใจขึ้น


ภาพที่มีกรอบภาพ
12. พลัง (Power) ในบางครั้งการถ่ายภาพจะแสดงถึงพลังในตัวของมันเองออกมาทำให้ภาพเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวที่ตั้งกล้องให้เห็นเส้นในแนวทะแยงมุม การส่ายกล้องตามสิ่งที่เคลื่อนไหวที่ทำให้ฉากหลังไม่ชัดแต่วัตถุชัดเจน พร้อมแสดงออกถึงพลังการเคลื่อนไหวของสิ่งนั้นตลอดจนการถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า เช่น นักแข่งกำลังปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงเพื่อแสดงให้เห็นพลังการเคลื่อนไหว
ภาพที่มีพลัง
13. เอกภาพ (Unity) คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยยึดถือความสัมพันธ์กันในภาพ เชื่อมโยงประกอบกันจนอยู่ในลักษณะหลอมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหนึ่งเดียว ในการถ่ายภาพต้องคำนึงถึงจังหวะในการถ่ายระยะความใกล้ไกลและต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่บันทึกลงในภาพถ่ายนั้น
ภาพที่มีความเป็นเอกภาพ

14. ความเรียบง่าย (Simplification) ความเรียบง่ายสามารถผลิตรูปภาพให้มีอิทธิพลได้ เช่น รูปภาพสถานีเตือนภัยในทะเลที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์กำลังตกดินมีคลื่นกระทบฝั่งมีฉากหลังน้ำทะเล การจัดภาพไม่สลับซับซ้อนลักษณะนี้ทำให้บอกเรื่องราวได้ นอกจากนั้นอาจนำการจัดภาพอื่น ๆมาประกอบด้วย เช่นความสมดูลย์ ความกลมกลืนในภาพ (Harmonious Picture) เป็นต้น
ภาพที่มีความเรียบง่าย

15. ส่วนเกิน หรือสิ่งที่ทำให้ภาพขาดคุณภาพไป (Merger) ก่อนการกดชัตเตอร์ทุกครั้งควรพิจารณาฉากหลัง หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อนระวังอย่าให้ปรากฏสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นในภาพ โดยเฉพาะสิ่งที่จะทำให้ภาพเสียไป เช่นโคมไฟที่งอกขึ้นกลางศีรษะของหญิงสาว ทำให้ภาพเสียไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ อาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ให้ภาพน่าดู น่าชม มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักถ่ายภาพแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาจากผลงานของคนอื่น ๆ น่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์     

เเนวคิดในการสร้างงานวิดีโอ


แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย
เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงาน                              
วิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1.  เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ
การเขียน
 Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2.  เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ
ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี

3.  ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ                                            ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน                      และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5.  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ                             เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต
ที่มา:https://sites.google.com/site/vdoclassroom/unit1/i1-2-naewkhid-kar-srang-widixo

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720      
ที่มา:http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ

                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอก ประกอบด้วยข้อมูลสี ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอ ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้
ที่มา:http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ลักษณะการทำงานทำงานของวิดีโอ

                                   ลักษณะการทำงานทำงานของวิดีโอ

                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอก ประกอบด้วยข้อมูลสี ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอ ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
                ปัญหาหนึ่งของความไม่ชัดเจนระหว่างวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ก็คือยังเข้าใจผิดว่าทั้งสองสิ่งนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน ทั้งที่จริงแล้วพื้นฐานของวีดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอก สำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วีดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยี ทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบDVT และ HDTV ร่วมกันในอนาคต
                ระบบการซ้อนภาพวีดีโอ (Video Overlay System)  หลังจากพัฒนาวีดีโอและวีดีโอซีดี เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้ จึงได้มีการนำวีดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอ แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงาน การแสดงภาพวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล และจะต้องติดการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจนสามารถแสดงผลได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น

                ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วีดีโอและโทรทัศน์วีดีโอ ปกติขนาดจอภาพของคอมพิวเตอร์จะใช้อัตราส่วน 4:3เท่ากับกับจอภาพโทรทัศน์ แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้ 480 เส้นไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์ และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67 Hz เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายเรียบไปตามขอบโค้งของขนาดจอภาพโทรทัศน์ (Overscan) โดยตรงข้ามกับขนาดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าภาพบนจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอภาพโทรทัศน์ นอกจากนี้สีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB ด้วยการสร้างภาพเป็นดิจิตอลวีดีโอที่มีความชัดเจนมากกว่าจอโทรทัศน์ที่จะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นอนาลอกวีดีโอ เพื่อแสดงผลออกมาบนจอภาพ ดังนั้นเมื่อจะสร้างมัลติมีเดียด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงภาพด้วยองค์ประกอบสี RGB หรือแปลงสัญญาณก่อนที่จะแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ เช่น เกมส์เพลยสเตชัน และ VCD   ที่มา:http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ชนิดของวิดีโอ

ชนิดของวิดีโอ

                วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่นสำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น



การนำวีดีโอไปใช้งาน
                วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้
              ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
                ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
                ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่
              ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์

ที่มา:http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

 ความรู้เกี่ยวกับ  vdo


                 วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่าน                                                                                                                                                           กระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน    
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia Systemที่ ที่มา:http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html